๑. ประวัติโรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง
โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง เดิมชื่อโรงเรียนบ้านท่ากระท้อน โดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัดท่ากระท้อนเป็นสถานที่เรียน เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๗๖ มีพระอธิการแจง เจ้าอาวาสวัดท่ากระท้อนเป็นครูสอนคนแรกของโรงเรียนนี้ จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๑
ต่อมาทางกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงินทุนสะสมศึกษาฟรี เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนเอกเทศถาวร อาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารเสนคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้อง ตามแบบ ป.๑ข ของกระทรวงศึกษาธิการ คิดเป็นเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๙๕๕.๕๕บาท เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ย้ายนักเรียนจากศาลาการเปรียญวัดท่ากระท้อนมาเรียนที่อาคารหลังใหม่ เมื่อวันที่ ๑๐กันยายน ๒๔๘๑
ต่อมาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔จังหวัดได้อนุมัติเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาทเศษ และได้จ้าง
นักเรียนโรงเรียนช่างไม้มาทำการเทพื้นคอนกรีต กั้นฝารอบอาคารเรียน จัดทำประตูหน้าต่างและฝ้าเพดานเสร็จเรียบร้อย แต่ไม่มีฝาประจันห้อง ใช้เป็นสถานที่เรียนต่อไป ต่อมาทางราชการได้อนุมัติเงินบงประมาณต่อเติมอาคารเรียนจนเสร็จเรียบร้อย
พ.ศ. ๒๔๙๙ทางราชการได้เปิดโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอขึ้น แต่หาที่ก่อสร้างไม่ได้จึงได้มาก่อสร้างในที่ดินของโรงเรียนบ้านท่ากระท้อน โดยสร้างเป็นอาคารโรงฝึกงาน ใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนมัธยม โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนมัธยมเขาสมิง มีนายสอน โสมารคพันธ์ นายอำเภอในสมัยนั้นเป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๑๗พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙มีนายสงวน นิลรักษ์ เป็นศึกษาธิการอำเภอ มีนายเทพ สนิทเสนา เป็นครูใหญ่
พ.ศ. ๒๕๐๐ทางราชการได้อนุมัติเงิน ๔๘,๐๐๐บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป. ๑ข จำนวน ๓ห้องเรียน กว้าง ๗ x ๙เมตร เสาคอนกรีตยกพื้น ๗๕เซนติเมตร การก่อสร้างได้ใช้วัสดุจากอาคารหลังเก่ามาทำการก่อสร้างด้วย สร้างแล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐
พ.ศ. ๒๕๐๓ทางราชการได้อนุมัติเงินก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนมัธยม ๑หลัง
เป็นอาคารแบบ ๐๑๗ จำนวน ๓ ห้องเรียน ตามแบบของกระทรวงศึกษาธิการ
เนื่องจากนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ทางราชการจึงอนุมัติเงินงบประมาณ สร้างอาคารเรียนให้โรงเรียนบ้านท่ากระท้อนอีก ๑หลัง และในปีเดียวกันนี้เองได้รวมโรงเรียนมัธยม
เขาสมิงในตอนนั้น ซึ่งสอนเฉพาะประถมปลาย รวมกับโรงเรียนบ้านท่ากระท้อนเป็นโรงเรียนเดียวกัน
และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงเรียนบ้านเขาสมิง ตั้งแต่วันที่ ๑๐พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕
พ.ศ. ๒๕๐๖โรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป. ๑ข อีก ๑หลัง จำนวน ๓ห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๑๖โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนอีก ๑หลัง เป็นแบบ ๐๑๗จำนวน ๔ห้องเรียน ในวงเงิน ๒๕๐,๐๐๐บาท และสามารถสร้างเสร็จใช้การได้ในปีเดียวกัน
วันที่ ๑๔พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก โรงเรียนบ้านเขาสมิง เป็นโรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง
พ.ศ. ๒๕๒๓สร้างอาคารที่ทำการกลุ่มโรงเรียนเขาสมิง ๑หลัง สร้างเรือนพยาบาล ๑หลัง และสร้างถังน้ำฝนแบบ ฝ. ๓๓จำนวน ๓ถัง
พ.ศ. ๒๕๒๔ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ จำนวน ๑หลัง
พ.ศ. ๒๕๒๙เปิดทำการสอนชั้นอนุบาล และเด็กเล็กอย่างเป็นทางการ จำนวน ๔ห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๓๐ได้รับงบประมาณปรับปรุงสนามฟุตบอล และสร้างสนามวอลเล่ย์บอล
พ.ศ. ๒๕๓๒ได้รับเงินสนับสนุนงบพัฒนาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด กั้นใต้ถุนอาคารเรียน แบบ ๐๑๗จำนวน ๑ห้องเรียน เพื่อใช้เป็นห้องสมุดของโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๓๓ได้รับงบประมาณกั้นใต้ถุนอาคารเรียนแบบ ๐๑๗อีกจำนวน ๓ห้องเรียน เพื่อใช้เป็นห้องวิชาการกลุ่มโรงเรียน และห้องสมุดกลุ่มโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๓๗ได้รับงบสนับสนุนจากสาธารณสุขจังหวัดตราด จัดสร้างที่แปรงฟัน จำนวน ๒๔ที่
พ.ศ. ๒๕๓๘ได้รับงบประมาณปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารสถานที่ โดยได้ทาสีอาคารเรียนทุกหลัง
พ.ศ. ๒๕๓๙ทางโรงเรียนได้จัดทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อจะนำเงินมาต่อเติมโรงอาหาร ได้เงินจำนวนทั้งสิ้น ๑๒๐,๐๐๐บาท
พ.ศ. ๒๕๔๐ปรับปรุงต่อเติมโรงอาหาร
พ.ศ. ๒๕๔๑ได้รับงบประมาณสนับสนุน (งบมิยาซาวา) ต่อน้ำประปาภายในโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๔๒นายนิกร นางกุมารี ทั่งทอง มีจิตศรัทธาสร้างห้องส้วม ๕ที่และที่แปรงฟัน ๑๑ที่
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับงบประมาณสร้างถังเก็บน้ำ ๑ ถัง ( แบบ คสล. ) สร้างป้ายชื่อโรงเรียน ๑ ป้าย สร้างส้วมแบบ สปช. ๖๐๑/๒๖๔ ที่นั่ง
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้กำหนดให้เป็นสถานที่สร้างสนามกีฬา “ลานกีฬาอเนกประสงค์” ของการกีฬาแห่ง ประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๖ ทางราชการได้กำหนดให้โรงเรียนวัดลำภูราย เป็นสาขาของโรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง และให้ดำเนินการจัดการบริหารควบคุมดูแลรับผิดชอบ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ทำการโอนนักเรียนจากโรงเรียนวัดลำภูราย มาเรียนที่โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง ทั้งหมด โดยจ่ายค่าพาหนะให้ทุกคน
พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ สปช. ๒/๒๘ จำนวน ๑ หลัง( ๓ ชั้น ๙ ห้อง )วงเงิน ๔,๕๗๔,๐๐๐ บาท
๒. ข้อมูลทั่วไป
โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิงจังหวัดตราดสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราดเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีเนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๓ งาน ๙๐ ตารางวา
|